1. ความสามารถในการใช้งานบนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน (Portability)
ภาษาC สามารถรันอยู่บนคอมพิวเตอร์ได้หลายระดับ ตั้งแต่เมนแฟรมคอมพิวเตอร์ จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ซอร์สโค้ดภาษาcที่เขียนในคอมพิวเตอร์ระดับหนึ่ง สามารถนำไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์อีกระดับหนึ่งได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่ง หรือถ้าเปลี่ยนแปลงก็มีพียงเล็กน้อย ภาษาC ไปใช้งานระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าจะมีแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกัน
2. มีประสิทธิภาพสูง (Efficiency)
ประสิทธิภาพที่นำมาใช้วัดกับภาษาC สามารถวัดได้ 2 แนวทางดังนี้คือ
- ชุดคำสั่งที่มีความกะทัดรัด และกระซับ
- การจัดการหน่วยความจำบนภาษา C มีประสิทธิภาพสูง
- มีการทำงานที่รวดเร็ว ภาษา c มีความสามารถติดต่อกับฮาร์ดแวร์ได้ดีมากกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ โดยสามารถติดต่อกับรีจิสเตอร์ และหน่วยความจำได้โดยตรง
ภาษา C อนุญาตให้มีการแบ่งโมดูลเพื่อคอมไพล์ได้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้อีกภาษา C คือภาษาที่ประกอบด้วยฟังก์ชัน ทั้งนี้โมดูลต่างๆ จะเขียนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชันทั้งสิ้น
4. พอยน์เตอร์ (Pointer Operations)
ภาษา c มีความสามารถในการทำงานแบบพอยน์เตอร์เป็นอย่างมาก ยากที่จะพบได้ในภาษาระดับสูงทั่วไป โดยพอยน์เตอร์หรือตัวชี้สามารถกำหนดได้จากชนิดข้อมูล (Data Types) หลายชนิดด้วยกัน เช่นเดียวกับฟังก์ชัน หรือโครงสร้าง รวมถึงตัวแปรแบบอาร์เรย์ ยังสามารถถูกจัดการนำพอยน์เตอร์เข้ามาช่วย
ภาษา c จัดได้ว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง แต่ภาษา C ก็ยังสามารถเขียนใช้งานร่วมกับภาษาระดับต่ำอย่างภาษาแอสเซมบลีได้ ภาษา c เป็นภาษาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ
6. ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ แตกต่างกัน (Case Sensitivity)
ตามปกติภาษาระดับสูงทั่วไป ตัวแปรที่ตั้งขึ้นด้วยอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ สามารถนำไปใช้งานร่วมกันได้ แต่ในภาษา c จะถือว่ามีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Upper Case) และอักษรตัวพิมพ์เล็ก (Lower Case) จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น NUM ไม่เท่ากับ num ในขณะเดียวกัน Num ก็จะไม่เท่ากับ num เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น